จากกรณีสื่อออนไลน์มีการเผยแพร่มีผู้รับจ่ายบิลค่าไฟ เพื่อแลกเงินสด นำไปใช้จ่าย แล้วค่อยผ่อนทีหลังผ่าน SPayLater ของแอปพลิเคชัน Shopee นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่า เป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว พบว่า ในแง่ธุรกรรมสามารถทำได้ไม่ผิดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลของแบงก์ชาติคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกหนี้ ที่มีเครดิตกับผู้ให้บริการ และในแง่ของเจ้าของบิลและตัวแทนที่จะจ่ายค่าน้ำค่าไฟ น่าจะมีข้อตกลงร่วมกัน
แต่ต้องรับความเสี่ยง ในแง่ของเจ้าของบิลเองและตัวแทนที่จะต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟ
ส่วนกรณีที่แบงก์ชาติมีหน้าที่กำกับดูแล คือ ได้กำชับผู้ประกอบการต้องทำให้เกิดความมั่นใจในแง่ขอความเสี่ยงต่างๆที่จะมีผลต่อลูกหนี้ที่ อาจมีความเสี่ยงในแง่การทำธุรกรรมหลอกลวงหรือไม่ ซึ่งเจ้าของบิลเองอาจถูกยกเลิก หลังจากจ่ายเงินสดให้กับผู้แทนที่ต้องนำไปจ่ายต่อ จึงอยากให้ผู้ประกอบการชี้แจงรายละเอียดให้ผู้บริโภคได้รับทราบอย่างครบถ้วนคำพูดจาก เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์
พร้อมเน้นย้ำ ให้ผู้ประกอบการเข้าไปดูว่าอาจกระทบต่อวินัยการเงิน เรื่องการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม รวมถึงเรื่องภาระดอกเบี้ยที่อาจจะตามมาจำนวนมาก ยอมรับว่า
แบงก์ชาติ มีความกังวลที่ผู้บริโภคอาจเข้าเกณฑ์ใช้จ่ายเกินตัว จากการเสียดอกเบี้ย และสุดท้ายอาจส่งผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือนของประเทศ
ด้านนายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและตรวจสอบบริการทางการเงิน กล่าวเพิ่มว่า หลังจากนี้ แบงก์ชาติจะมีแนวทางการกำกับดูแลผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซต่อไปในการปล่อยบริการสินเชื่อที่อาจผิดวัตถุประสงค์นั้น มองว่า เจ้าของบิลที่นำเงินสดมาจ่ายให้กับผู้แทนที่เป็นลูกหนี้ของผู้ให้บริการอาจมีความเสี่ยง เนื่องจากหากผู้แทนที่เป็นลูกหนี้ไม่นำเงินไปจ่ายจริง ก็จะตกเป็นภาระของเจ้าของบิลอาจโดนตัดค่าน้ำค่าไฟได้ ย้ำว่า แบงก์ชาติไม่สนับสนุนให้ทำแบบนี้ เพราะอาจเป็นความเสี่ยงทั้งของการผู้ประกอบการ ลูกหนี้ และเจ้าของบิล
หากมีลูกหนี้ไปขอสินเชื่อกับผู้ประกอบการจำนวนมาก ความเสี่ยงก็จะตกอยู่ที่ผู้ประกอบการเอง