เพจเฟซบุ๊กของ นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการโพสต์คลิปยาวประมาณ 8 นาที ซึ่งเป็นการพูดคุยกับชายคนหนึ่งที่อ้างว่าเป็นคนขับรถหกล้อ โดยบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ถูกจับกุม ไปจนถึงการเซ็นยกทุเรียนให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร
โดยนายอัมรินทร์ โพสต์หลังจากที่ อธิบดีกรมศุลกากร ออกมาชี้แจ้งเรื่องการจับกุมผู้กระทำความผิดลักลอบนำเข้าทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อจะยืนยันว่าทุเรียนที่ถูกตรวจจับนั้น ไม่ใช่ทุเรียนเถื่อนคำพูดจาก สล็อต เว็บ
ล้งเดือด ร้องสอบ จนท.กรมศุลยึดทุเรียนกว่าล้านบาท ยืนยันไม่ได้ลักลอบนำเข้า
กรมศุลฯ ชี้แจง จับทุเรียนลักลอบนำเข้า เจ้าของสารภาพเองรับซื้อจากชาวกัมพูชา
แต่เป็นทุเรียนที่กว้านซื้อมาจากสวนในจังหวัดศรีสะเกษ และสาเหตุที่คนขับยอมรับสารภาพ เพราะถูกเกลี้ยกล่อมจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สมัครใจยอมรับเอง
นอกจากนี้ นายอัมรินทร์ ยังตั้งข้อสังเกตเรื่องใบบันทึกจับกุมของเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ ที่มีเอกสารออกมา 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นบันทึกจับกุมระบุชื่อ นายณัฐพร ส่วนอีกใบ ระบุชื่อ น.ส.อภิชญา ซึ่ง นายอัมรินทร์ เชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนชื่อผู้ต้องหาในคดีหรือไม่
เอกสารทั้งสองฉบับกันชัดๆ จะเห็นว่า ทั้งสองฉบับนี้มีข้อเหมือนและแตกต่างกันในหลายจุด โดยจุดแรกที่เหมือนกันก็คือทั้งสองฉบับเป็นวันที่ 23 มิถุนายน เหมือนกัน แต่เวลาบันทึกต่างกัน
ฉบับแรกบันทึกเวลา 14.30 น. มีชื่อของ “นายณัฐพร” แสดงตัวเป็นเจ้าของทุเรียน แต่อีกฉบับ ลงเวลา 15.00 น. กลับเป็นชื่อของ นางสาวอภิชญา แสดงตัวเป็นเจ้าของทุเรียน
ซึ่งในเอกสารสองฉบับนี้ ทั้ง “นายณัฐพร” และ “น.ส.อภิชญา” ให้ข้อมูลตรงกันเรื่องติดต่อขอซื้อทุเรียนจากชายชาวกัมพูชา แล้วว่าจ้าง “นายสนทนา” คนขับไปรับทุเรียน
แต่เมื่อวานนี้ ก็มีชายอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า นายนภดล ที่ออกมาแสดงตัวกับผู้สื่อข่าว และระบุว่าเขา เป็นเจ้าของเงินทุนที่นำไปซื้อทุเรียนดังกล่าว หากดูจากข้อมูลและหลักฐาน เวลานี้ก็มีคนออกมาแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของทุเรียน 3 คน คือ นายณัฐพร น.ส.อภิชญา และ นายนภดล ซึ่งตรงนี้เองก็ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าตกลงแล้วทุเรียนทั้งหมดคือของใครกันแน่
ส่วนประเด็นข้อสังเกตที่ “นายอัมรินทร์” เชื่อว่ามีการเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาระหว่าง นางสาวอภิชญา กับเป็นนายณัฐพร หรือไม่นั้น หากย้อนกลับไปดูข้อมูลไทม์ไลน์การจับกุมของเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ ที่ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวเมื่อวานนี้ ระบุว่า วันที่ 23 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่ามีการลักลอบนำเข้าทุเรียน จนพบรถหกล้อคันดังกล่าว จึงตรวจสอบ ซึ่งคนขับรถยอมรับว่า นำทุเรียนออกมาจากชายแดน เตรียมไปส่งยังล้งทุเรียนแห่งหนึ่งใน จ.จันทบุรี
จนช่วงบ่ายของวันเดียวกัน (23 มิ.ย.) มี ชาย-หญิง คู่หนึ่ง อ้างเป็นเจ้าของทุเรียนมาพบเจ้าหน้าที่ และสารภาพว่าซื้อทุเรียนมาจากประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภ.คลองลึก จากไทม์ไลน์นี้ เป็นไปได้หรือไม่ว่า “น.ส.อภิชญา และ นายณัฐพร” คือ คนที่เข้ามาพบเจ้าหน้าที่ในวันที่มีการจับกุม และมีการทำบันทึกดังกล่าวขึ้น
ในประเด็นนี้ ล่าสุดทาง นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า ช่วงแรกมีบุคคลหนึ่งแจ้งว่าเป็นเจ้าของทุเรียน กรมฯ จึงได้ทำเอกสารหลักฐาน แต่ยังไม่มีการเซ็นรับรองหรือเซ็นพยาน ซึ่งตามระเบียบเอกสารนั้นถือว่ายังไม่สมบูรณ์ แต่ต่อมามีอีกคนหนึ่งอ้างตัวว่าเป็นเจ้าของทุเรียน จึงทำเอกสารหลักฐานใหม่ และมีการลงนามอย่างถูกต้อง และหากมีคนเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของเพิ่ม ก็จะมีการเพิ่มเข้าไปสำนวนได้อีก
ส่วนการกล่าวอ้างที่ว่า ทุเรียนที่ถูกจับไม่ใช่ทุเรียนเถื่อน แต่เป็นทุเรียนจากสวนในจังหวัดศรีสะเกษพร้อมกับพบเอกสารปรากฏชื่อ นายสมัย สุยคำไฮ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ระบุในใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่อยู่ภายในรถหกล้อที่ถูกตรวจยึดด้วย
ทีมข่าวลงพื้นที่บ้านซำขี้เหล็ก อำเภอขุนหาญ พบกับ นายสมัย สอบถามข้อเท็จจริงทราบว่า มีการขายทุเรียนภูเขาไฟไปจริงจำนวน 10,000 ลูก เฉลี่ยลูกละ 2 – 3 กิโลกรัม ให้กับลูกค้าประจำที่ซื้อขายกันมาหลายปีแล้ว
ซึ่งทำสัญญาซื้อขายวันที่ 22 มิถุนายนโดยวางเงินมัดจำ และให้สำเนาใบ GAP ไป โดยไม่ได้ขีดฆ่า เซ็นรับรองสำเนาใดๆ หลังจากนั้นก็ได้ตัดทุเรียนส่งมอบในเวลาตีสองของ วันที่ 25 มิถุนายนแต่รถคันดังกล่าว ถูกศุลกากรจับวันที่ 23 มิถุนายน ก่อนจะส่งมอบทุเรียนให้ลูกค้า หมายความว่า ทุเรียนที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดไป ไม่ใช่ของ นายสมัย แน่นอน ส่วนใบ GAP ที่พบในรถของกลาง นายสมัยบอกว่า ลายมือและเบอร์โทรศัพท์ไม่ใช่ของตัวเอง
เกษตรกรบอกว่า ปกติแล้ว การส่งทุเรียนให้ล้ง จะต้องมีใบสัญญาซื้อขายชัดเจน มีใบรับรองGAP ระบุว่าขายให้ใคร จำนวนเท่าไร ส่งออกจากสวนวันไหน พร้อมกับขีดคร่อมผ่ายาวครึ่งกระดาษ เหมือนกับการลงชื่อรับรองสำเนาบัตรประชาชน เพื่อป้องกันการนำเอาใบสำเนาใบ GAP ไปใช้ประโยชน์
แต่ครั้งนี้เชื่อว่า น่าจะมีขบวนการถ่ายสำเนาใบ GAP ขายต่อกันไป เพื่อนำไปใช้ในการฟอกทุเรียน จึงฝากเตือนมาเกษตรกรชาวสวน ก่อนที่จะมอบใบรับรอง GAP ให้คนที่มาซื้อทุเรียนต้องขีดคร่อม ลงชื่อกำกับเอาไว้ ทั้งเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ และป้องกันการนำไปสวมทุเรียนที่อื่นด้วย
สอดคล้องกับข้อมูลของ รศ. อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า การนำทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาไทยเพื่อส่งออก หรือนำทุเรียนเพื่อนบ้านมาปะปนกับทุเรียนไทย เริ่มมีมา 1-2 ปีแล้ว ลักษณะนี้ว่าเรียกว่าขบวนการสวมสิทธิ์-สอดไส้ทุเรียน
แต่ปีนี้มีทุเรียนจากเพื่อนบ้านเข้ามามากขึ้น สาเหตุมาจากตลาดประเทศจีน ที่เป็นตลาดใหญ่ในการรับซื้อทุเรียนไทย กำลังกลับมา หลังสถานการณ์โควิดดีขึ้นและที่สำคัญปีนี้ ทุเรียนไทยผลผลิตลดลง จึงไม่พอกับความต้องการ ทำให้ต้องรับทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านมาสอดไส้ส่งออก และ อีกปัจจัยคือความน่าเชื่อถือของผลผลิตทุเรียนไทยที่ได้มาตรฐาน GAP ทำให้ผู้ประกอบการหัวใสนำทุเรียนผ่านไทยมาเพื่อส่งออก
โดยขบวนการสวมสิทธิ์และสอดไส้ทุเรียน เป็นการสมยอมทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้ค้าของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเสี่ยงที่จะกระทบกับชื่อเสียง และการส่งออกทุเรียนไทยในอนาคต สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องนี้ รศ.อัทธ์ แนะวิธีไว้ 4 ส่วน คือ ต้องแก้ไขระบบฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกทุเรียน ซึ่งจะทำให้รู้ผลผลิตที่แท้จริง หากมีการสวมสิทธิ์ สอดไส้ ระบบข้อมูล GAP ควรตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ ประสานความร่วมมือชายแดน ตรวจสอบเคร่งครัด ป้องกันการลักลอบนำเข้ามา และสุดท้ายขึ้นทะเบียนพ่อค้าคนกลาง หรือ ล้ง ว่ามีกี่ราย ที่รับซื้อทุเรียนจากเพื่อนบ้าน เพื่อไม่ให้มีการเกิดการลักลอบ หากพบว่ามีการกระทำความผิดก็ต้องมีบทลงโทษจริงจัง.